Page Header

แผ่นเส้นใยนาโนจากพอลิคาโปรแลคโทน

นพวรรณ ชนัญพานิช, ชลดา สุวรรณบูรณ์

Abstract


ผืนเส้นใยนาโน PCL นิยมนำไปประยุกต์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ทั้งนี้เพราะมีสมบัติเข้ากันได้กับสิ่งมีชีวิตและย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ผืนเส้นใยนาโนโดยทั่วไปสามารถผลิตเป็นลักษณะแบบไม่ถักทอหรือแบบขนานแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ในงานวิจัยนี้นำเสนอการผลิตและตรวจสอบสมบัติของแผ่นเส้นใยนาโน PCL ซึ่งเป็นเส้นใยนาโนผสมระหว่างเส้นใยนาโนแบบไม่ถักทอกับเส้นใยนาโนแบบขนานลวดลาย CL3, CL4 และ CL6 คาดการณ์ว่าแผ่นเส้นใยนาโนที่ผลิตนี้มีลักษณะใกล้เคียง (Mimic) กับเส้นใยนาโนคอลลาเจนในร่างกายคน จากการทดสอบแผ่นเส้นใยนาโน PCL ที่ความหนา 20-80 ไมโครเมตร พบว่ามีความพรุน (Porosity) 70-80% ซึ่งทำให้ของเหลวเช่นอาหารหรือของเสียผ่านได้ดีความทนต่อแรงยืดดึง (Tensile Strength) อยู่ในช่วง 1.5-6 MPa ซึง่ พอเหมาะที่ทำให้เซลล์พยุงตัวอยู่บนเส้นใยนาโนผสมนี้ได้

คำสำคัญ: Polycaprolactone, Nanofiber, ความพรุน, ความทนต่อแรงยืดดึง

Polycaprolactone nanofiber is widely used in tissue engineering, due to its biocompatibility and biodegradability. Nanofiber is usually fabricated in either nonwoven or aligned pattern. This paper revealed the fabrication of mixed nonwoven and aligned nanofiber mats, obtained three nanofiber mat patterns, namely CL3, CL4, CL6. It was expected that these nanofiber patterns exhibited micro environment close to collagen nanofiber in humans. It was found that the nanofiber patterns with the thickness of 20-80 micrometers exhibited porosity in the range of 70-80%, allowing fluid penetration. Moreover, tensile strengths were from 1.5 to 6 MPa, depending on the thickness of the nanofiber patterns.

Keywords: Polycaprolactone, Nanofiber, Porosity, Tensile Strength


Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145