Page Header

การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บุญเลิศ เต๊กสงวน, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, วิเชียร เกตุสิงห์, นิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ

Abstract


การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงปัจจัยและความจำเป็นในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ด้วยการอาศัยการจัดการความรู้ที่แลกเปลี่ยนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยศึกษาจากบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย จำนวน 300 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และวิเคราะห์ผลทางสถิติ การวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) โครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) การมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร 4) บรรยากาศที่เกื้อหนุนต่อการเรียนรู้ 5) พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมสร้างและถ่ายโอนความรู้ 6) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้ 7) การทำงานเป็นทีมและร่วมมือกันเป้าหมายเดียวกัน ส่วนความจำเป็นที่มีผลผลักดันให้มีการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกและความต้องการภายในขององค์กรเอง นอกจากนี้ยังพบว่ากิจกรรมย่อยที่มีส่วนสนับสนุนระบบการจัดการความรู้ ได้แก่ เน้นการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดเก็บ การถ่ายทอดและการนำความรู้ไปใช้ได้ง่าย การกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดจากประสบการณ์ (Tacit ← →Explicit) การร่วมกลุ่ม (COP) เพื่อสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแบบแบ่งปัน การแลกเปลี่ยนสร้างสรรค์ความรู้ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปถึงรูปแบบการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีความเหมาะสม แต่ต้องกำหนดความรู้ที่จะจัดเก็บและแหล่งความรู้ของระบบการจัดการความรู้ และต้องเน้นการเพิ่มทักษะหลัก (Soft Skill) เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ รวมถึงจะต้องอธิบายให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นประโยชน์และในงานวิจัย รายงานถึงผลของการทดสอบโปรแกรมต้นแบบที่ออกแบบสำหรับการสนับสนุนกิจกรรมการจัดการความรู้ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบริษัท โรงงานต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ: การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ กิจกรรมสนับสนุนการจัดการความรู้

The objectives of the research were to investigate the necessary factors of learning organization and knowledge management for improving large and medium scale manufacturers in industrial community to become learning and knowledge sharing organization through the internet as well as to develop the model of learning organization for manufacturers in Amata Nakorn Industrial Estate. The necessary factors of learning organization and knowledge management were obtained from 300 managers who were the top managements. The data were researched by qualitative and quantitative methods which were analyzed by statistical methods. The results of this study are as follows: Necessary factors for learning and knowledge managementorganization consist of seven aspects, i.e. 1) appropriate organizational structure, 2) coopera-tive vision, 3) learning culture in the organization, 4) enhancing learning environment, 5) knowledge transfer and sharing among employees, 6) the application of technology and information system to support learning environment, and 7) team work and goal sharing. Other necessities for knowledgeable society include knowledge sharing through the internet, outside environment affecting the organization, and internal needs. In addition, there are three sub-activities to support leaning management system such as, the application of technology to support knowledge management system, appropriate activities enhancing learning ability while tacit knowledge to explicit knowledge, and finally, focusing on community of practice (COP) to build up cooperative learning and knowledge sharing leading to knowledge innovation. Moreover, a focus group of experts in knowledge management was conducted with the result that the management team had experi-ences and understanding about learning organization and knowledge management. Important factors in-cluded defining captive knowledge, providing knowledge resources, developing soft skills for knowledge management. In some cases, it is necessary to explain the benefit of learning society and knowledge management organization among the top management. Moreover, the researcher implemented the model to support knowledge management in the organization showing effective results. It can be concluded that the developed model can be effectively implemented to support the learning organization of manufacturers in any industrial estate.

Keywords: Development of Learning Organization, Knowledge Management, Activity to KM Support


Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145