Page Header

การวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการก่อสร้างบ้านพักอาศัย: เปรียบเทียบระหว่างบ้านแบบทั่วไปกับบ้านบล็อกประสาน
Comparative Greenhouse Gas Evaluation of House Construction: A Conventional House versus an Interlocking Block House

Chalita Suwan, Thanutyot Somjai

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างบ้านพักอาศัยต้นแบบชั้นเดียวจำนวน 2 หลัง ที่มีวัสดุผนังที่ต่างชนิดกัน ได้แก่ บ้านแบบทั่วไปที่มีผนังเป็นคอนกรีตบล็อก และบ้านบล็อกประสาน ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต ขอบเขตการวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมการได้มาซึ่งวัตถุดิบ และการนำวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตวัสดุเพื่อใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการก่อสร้างบ้านแบบทั่วไปและบ้านบล็อกประสาน มีค่าเท่ากับ 13,152.02 และ 8,322.62 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเท่ากับ 257.88 และ155.28 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อพื้นที่ใช้สอยของบ้าน 1 ตารางเมตร ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากบ้านบล็อกประสานเป็นระบบผนังรับน้ำหนัก ไม่มีโครงสร้างเสาและคาน และไม่มีการฉาบผนังทั้งภายในและภายนอก จึงทำให้มีการใช้ปูนซีเมนต์และเหล็กเสริมคอนกรีต ซึ่งเป็นวัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบการก่อสร้างบ้านแบบทั่วไป ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการขยายขอบเขตการศึกษาให้ครอบคลุมตลอดวัฏจักรของบ้านพักอาศัย โดยรวมขั้นตอนการใช้งาน และการจัดการขั้นสุดท้ายหลังอาคารหมดอายุการใช้งาน รวมถึงควรมีการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

This research aimed to evaluate the greenhouse gas emissions of 2 types of single-family pilot houses with different materials of opaque wall, a conventional concrete block house and an interlocking block house, following the principles of life cycle assessment. The scope of the study covered the analysis of the amounts of greenhouse gas emission from the acquisition of global resources and the production of construction materials. The results of the study showed that the total amount of greenhouse gases released from the conventional house construction and the interlocking block house construction were 13,152.02 and 8,322.62 kg CO2e, respectively. It was 257.88 and 155.28 kg CO2e per 1 sq.m. of the utility space of the house, respectively. Since the interlocking block house is a load-bearing wall system, without columns and beams, and without interior and exterior wall plastering, the amount of greenhouse gas contributed by cement and reinforced steel, which were dominantly greenhouse gas contributors, was avoided. The researchers suggested further study to extend the scope to cover the whole life cycle of the house including the use stage and the end of life stage. Eco-efficiency analysis should be considered for more definitive conclusions.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.04.011

ISSN: 2985-2145