Page Header

Acetic Acid as a Carbon Source from Fermentation of Biogas Excess Sludge for the Removal of Nutrients in Enhanced Biological Phosphorus Removal Processes

Chatlada Piasai, Nittaya Boontian, Thunchanok Phorndon, Mohamad Padri

Abstract


สารอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในน้ำเสียเป็นปัญหามลพิษทางน้ำที่สำคัญ ซึ่งการควบคุมระบบกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพแบบเพิ่มพูนจำเป็นต้องมีการเติมแหล่งคาร์บอนจากภายนอก และสารเคมีที่เป็นด่าง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาถึงการกำจัดฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และซีโอดีในระบบกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพของระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยทดลองเติมกรดแอซีติกที่ได้จากการหมักตะกอนส่วนเกินของระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และควบคุมความเป็นด่างจากการเติมมูลสุกร และโซเดียมไบคาร์บอเนตที่สัดส่วนเท่ากับ 2 : 1 กำหนดให้ค่าฟอสฟอรัสเท่ากับ 25 มก./ล. ไนโตรเจนในรูปของทีเคเอนเท่ากับ 15 มก./ล. และซีโอดี (กรดแอซีติกที่ได้จากการหมักตะกอนส่วนเกินแบบไร้ออกซิเจน) เท่ากับ 380 มก./ล. อายุตะกอนเท่ากับ 60 วัน ผลการทดลองเมื่อใช้แหล่งคาร์บอนจากการหมักตะกอนส่วนเกินแบบไร้ออกซิเจนพบว่า เมื่อเดินระบบจนเข้าสู่สภาวะคงที่ (91 วัน) การกำจัดฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และสารอินทรีย์คาร์บอนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (ร้อยละ 6.92, 20.72 และ 0.74) เมื่อเทียบกับระบบที่ใช้มูลสุกรอย่างเดียวในการควบคุมความเป็นด่าง ซึ่งจากการทำสมดุลมวลพบว่า มีปริมาณของฟอสฟอรัสที่สะสมในเซลล์จุลินทรีย์ร้อยละ 52.32 แสดงว่าปริมาณกรดแอซีติกจากการหมักตะกอนส่วนเกินของระบบผลิตก๊าซชีวภาพสามารถใช้ทดแทนกรดแอซีติกจากสารเคมี ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน และช่วยลดต้นทุนการเดินระบบได้

High level of organic carbon, nitrogen, and phosphorus are serious wastewater problems. The control of enhanced biological phosphorus removal processes requires the addition of external carbon sources and alkaline chemicals that can increase the cost of additional chemicals. This research aims to study the efficiency of phosphorus nitrogen and COD in enhanced biological phosphorus removal of municipal wastewater treatment plant. Acetic acid from fermented excess sludge of biogas processes was used as carbon source with controlled alkaline by pig manure and sodium bicarbonate at ratio 2 : 1 in the EBPR. In the experiments, 25 mg/L of phosphorus and 380 mg/L of COD were used with 60 days of sludge retention time. The results showed a steady state after 91 days. The phosphorus, nitrogen and carbon removal has tended to increase by 6.92, 20.72 and 0.74 percent compared to the systems that use only pig manure to control the alkalinity. Mass balance showed that phosphorus in cell was 52.32%. The EBPR process is able to use acetic acid from the fermented excess sludge from biogas processes as the substitutes of the chemicals. Therefore, the mass balance is potential to be a guideline for controlling the municipal wastewater treatment system and reduce the operational cost.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2021.03.003

ISSN: 2465-4698