Page Header

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ
Potential Model Development for Executive of Automation Industry

Panyaphol Supannavong, Sakarin Yuphong, Pairote Stirayakorn

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ 2) เพื่อพัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ และ 3) เพื่อพัฒนาและประเมินคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ โดยใช้รูปแบบวิธีการวิจัยผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการอภิปรายกลุ่มย่อย ประชากรในการอภิปรายกลุ่มย่อย ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง เจ้าขององค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ และนักวิชาการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบศักยภาพผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ 70 ตัวแปร ได้แก่ 1) องค์ประกอบหลักด้านศักยภาพการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อยได้แก่ 1.1) ศักยภาพด้านการวางแผนธุรกิจ 1.2) ศักยภาพด้านการจัดการองค์กร 1.3) ศักยภาพด้านการจัดวางบุคลากร 1.4) ศักยภาพด้านการอำนวยการ 1.5) ศักยภาพด้านการประสานงาน 1.6) ศักยภาพด้านการรายงาน และ 1.7) ศักยภาพด้านการจัดทำงบประมาณ 2) องค์ประกอบหลักด้านความสามารถ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) ความรู้ด้านกฏหมาย บัญชีการเงิน และภาษาต่างประเทศที่จำเป็น 2.2) ทักษะการหาช่องทางเพื่อขยายธุรกิจ และทักษะการทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอัตโนมัติ 2.3) คุณลักษณะพึงประสงค์ผู้บริหาร ได้แก่ เทคนิคการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น เป็นผู้มีหลักการในการแก้ไขปัญหา มีความอดทนอดกลั้นต่อสภาวะการทำงานกดดัน และ มีคุณธรรม จริยธรรม สำหรับคู่มือพัฒนาศักยภาพผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติตามองค์ประกอบในแต่ละด้าน เทคนิคการสร้างตัวชี้วัด และตัวอย่างตัวชี้วัด รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติได้รับการประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเอกฉันท์ ในการนำไปประยุกต์เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ

The purposes of this research were: 1) to study the essential components for potential development of executives in the automation industry; 2) to create and assess the appropriateness of the aforesaid model; and 3) to produce and evaluate a handbook in relation to investigated potential development. The selected methodologies of this research were a combination of qualitative and quantitative methods and focus groups. Focus group participants comprised three representative groups: senior executive officers, entrepreneurs of automation companies and academic personnel in human resource management. The statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation. Content analysis was conducted for analyzing qualitative data. As results, essential components and subcomponents to form the potential model can be identified as (1) Work Capabilities, consisting of potentials related to planning, organization management, human resource management, directing, coordinating, reporting and budgeting; (2) Core competency, which covers knowledge about the laws, accounting and foreign languages required; skills related to business channel expansion and automation proficiency; along with desirable managerial characteristics, i.e. persuasion skills, problem solving skills, stress tolerance in the work environment, together with ethical and moral dispositions. The developed manual consists of practical guidelines for each component, techniques for indicator development, and sample performance indicators. Conformity and content suitability assessment for the model were undertaken by qualified experts. The handbook for guideline development was unanimously approved and it was found to be appropriate with respect to further implementation for potential development of executive personnel working in manufacturing automation.


Keywords



[1] W. Wirachnipawan, The Community Development Problems and Obstruction: People, Government Officer and Leader. Bangkok: Odean Store, 1987 (in Thai).

[2] D. Teinputra, Next Decade Human Resources Management. Bangkok: Chulalongkorn University, 2001 (in Thai).

[3] P. Tulachom, Professional Characteristics Development of Secondary School. Pathum Thani: Ratchapat Valaialonglorn University, 2014 (in Thai).

[4] C. Arjinsamarn, The Human Resources Development. Bangkok: Text Book Production Center of Krirk University, 1998 (in Thai).

[5] P. Tulachom, “The model for the development of the characteristics of professional administrators in secondary schools,” Human and Social Journal of Mahasarakham University, vol. 11, no. 53, pp. 173–178 , 2014 (in Thai).

[6] P. Methapat, “Development of training course for developing of management model of data and information center in vocational education institutes,” Journal of KMUTNB, vol. 11, no. 1, pp. 98–105, 2017 (in Thai).

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.08.010

ISSN: 2985-2145