Page Header

การออกแบบโครงข่ายสัญจรสาธารณะโดยตัวแบบการเชื่อมต่อศูนย์กลางแบบไม่จำกัดความจุ กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี

อรอุไร แสงสว่าง

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เสนอการออกแบบโครงข่ายสัญจรสาธารณะในสภาวะน้ำท่วม และกำหนดสถานีสำหรับยานพาหนะขนาดใหญ่เช่น รถยนต์บรรทุกยูนิม็อก (Unimog Truck) ของกองทัพบก เพื่อรับส่งประชาชนในสภาวะอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ในสภาวะน้ำท่วมสูงรถยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านถนนสายหลักได้จำเป็นต้องอาศัยยานพาหนะขนาดใหญ่หรือรถบรรทุกของกองทัพบก ขณะที่ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่ภาครัฐจัดเตรียมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนยังไม่มีการกำหนดสถานีรับส่งและเส้นทางการเดินทางที่แน่นอน ทำให้ผู้ประสบอุทกภัยใช้เวลารอคอยนาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ตลอดทั้งประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบในการเดินทางในชีวิตประจำวัน ยานพาหนะขนาดใหญ่ไม่สามารถเดินทางรับส่งประชาชนทุกเส้นทางในทุกหมู่บ้านได้งานวิจัยนี้จึงเสนอโครงข่ายการเลือกที่ตั้งฮับ เพื่อลดจำนวนเส้นทางการสัญจรและกำหนดการเดินทางโดยยานพาหนะขนาดใหญ่ในเส้นทางหลักเพื่อลดต้นทุน งานวิจัยนี้ได้เสนออัลกอริทึมเชิงพันธุกรรม 2 รูปแบบ ได้แก่อัลกอริทึมเชิงพันธุกรรมโดยใช้การข้ามสายพันธุ์แบบจุดตัดเดียวและอัลกอริทึมเชิงพันธุกรรมโดยใช้การข้ามสายพันธุ์แบบตัดและต่อใหม่ สำหรับแก้ปัญหาตัวแบบการเชื่อมต่อศูนย์กลางแบบไม่จำกัดความจุ (The Uncapacitated Single Allocation p - Hub Median Problem, USApHMP) เพื่อออกแบบโครงข่ายสัญจรสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ค่าใช้จ่ายรวมในการเดินทางต่ำที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในวางแผนการจัดการขนส่งเมื่อเกิดอุทกภัยครั้งต่อไปจากผลการวิจัยพบว่าวิธีเชิงพันธุกรรมโดยใช้การข้ามสายพันธุ์แบบตัดและต่อใหม่สามารถสร้างคำตอบที่ดีกว่าวิธีเชิงพันธุกรรมโดยใช้การข้ามสายพันธุ์แบบจุดตัดเดียวทั้งด้านเวลาในการประมวลและคุณภาพของคำตอบ

คำสำคัญ: โครงข่ายที่ตั้งฮับ วิธีเชิงพันธุกรรม อุทกภัย

Abstract

This research proposes the design of a public transportation network in the event of floods and designates stations for such large vehicles as army vehicles and Unimog trucks. In disaster areas, cars cannot pass through flooded streets. In order to pick up passengers in Nonthaburi province, large army vehicles or trucks are required, although the transfer stations and routes of these vehicles provided to alleviate the problem during chronic flooding are not certainly defined. Therefore, passengers sometimes have to wait for a long time and this can result in high transportation costs. Many people are affected in terms of traveling through flooding areas on a daily basis. Large public transportation vehicles cannot be driven to every destination. Accordingly, this research proposes a hub location network in order to reduce the number of routes and to assign transferring routes between hubs for large vehicles so that the economies of scale can be taken advantage of. This research additionally develops two different types of genetic algorithms, one with a single point crossover and a genetic algorithm with a cut and splice crossover, for solving the uncapacitated single allocation p - hub median problem, USApHMP, in order to design a public transportation network. The objective of this research is to minimize total transportation costs. According to the computational results, the genetic algorithm with cut and splice outperformed the genetic algorithm with a single point crossover in terms of both solution quality and computational time.


Keywords



Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145