Page Header

รูปแบบการพัฒนาอาชีพผู้บริหารระดับต้นในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ศิริพร กาฬกาญจน์, สันชัย อินทพิชัย, วิจิตรา พลเยี่ยม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการด้านทักษะผู้บริหารระดับต้นในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้บริหารระดับต้นให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาทักษะในอาชีพผู้บริหารระดับต้นในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์โดยแบ่งลำดับการวิจัยและพัฒนาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ศึกษาทักษะที่จำเป็นและความต้องการพัฒนาทักษะของผู้บริหารระดับต้นในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและวิธีการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับต้น จำนวน 360 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับกลาง-สูง จำนวน 181 คน รวมถึงการพัฒนารูปแบบเป็นคู่มือแนวทางการพัฒนาอาชีพผู้บริหารระดับต้น เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยผ่านการประเมินความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คนผลการวิจัยพบว่าทักษะที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้แก่ทักษะความคิดเชิงวิเคราะห์ทักษะความคิดเชิงระบบและทักษะการให้คุณให้โทษพนักงานวิธีการพัฒนาที่สามารถนำมาใช้ได้เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะสูงสุดได้แก่การสอนขณะทำงาน (On the Job Training: OJT) และการสอนงาน (Coaching) การพัฒนาอาชีพที่สามารถนำไปใช้ได้เหมาะสมสูงสุด ได้แก่ การโอนย้ายงาน (Rotation) และการพัฒนาตามแผนการพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ผลการวิจัยนำไปจัดทำเป็นคู่มือแนวทางการพัฒนาอาชีพผู้บริหารระดับต้นซึ่งผ่านการประเมินความสอดคล้องและประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้

คำสำคัญ: การพัฒนาอาชีพ ผู้บริหารระดับต้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Abstract

The purposes of this research included two aspects: firstly, to study the needs on the skills of first- line management in Thai automotive spare parts industry for their preparedness and readiness to become part of the ASEAN Economic Community (AEC); secondly, to form a skill development model for the first-line management. The research and development study was divided into 3 phases: studying the needs on the skills; the methods of development; and an appropriate skill development model. The sample groups comprised 360 first- line managers and 181 middle / top managers in Thai automotive spare parts industry. The findings revealed that their existing skills were lower than expected levels. The 4 components with urgent requirement for development constitute analytical thinking; systematic thinking; synthesis thinking skills as well as reward & punishment consideration. The most suitable development method included on-the-job training (OJT) and coaching while job rotation and individual development plan (IDP) appears suitable for career development. The efficiency evaluation of the development model (IOC) and its handbook conducted by 12 specialists showed highly appropriate and the model could be used as a guideline for career development of the first- line managers as to facilitate their integration within the AEC community.

 


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2015.07.013

ISSN: 2985-2145