Page Header

การลดน้ำสูญเสียในระบบจ่ายน้ำประปา

มรุพัชร จำนงค์วงศ์

Abstract


จากสถิติอัตราน้ำสูญเสียหรือน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบจ่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2553–2557) พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.94% และ 27.46% ตามลำดับ ในขณะที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสัดส่วนการบริการน้ำประปาถึง 58% ของประเทศยังไม่มีข้อมูลน้ำสูญเสียที่ชัดเจน ทำให้น้ำสูญเสียเป็นปัญหาสำคัญที่มีมูลค่าสูงรวมหลายพันล้านบาทต่อปีการจะลดน้ำสูญเสียให้ได้ตามเป้าหมายจำเป็นต้องมีกลยุทธ์สำหรับเป็นแนวทางในการจัดการปัญหา โดยกลยุทธ์การลดน้ำสูญเสียในบทความนี้เรียบเรียงขึ้นมาจากการวิเคราะห์สาเหตุของน้ำสูญเสียแบ่งออกเป็น 1) การลดน้ำสูญเสียเชิงกายภาพและ2) การลดน้ำสูญเสียเชิงพาณิชย์ซึ่งในทางปฏิบัติยังมีปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยทำให้การลดน้ำสูญเสียประสบความสำเร็จประกอบด้วย การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากพื้นที่จ่ายน้ำย่อย (District Metering Area: DMA) การใช้แบบจำลองทางชลศาสตร์เพื่อช่วยวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในระบบท่อ ความร่วมมือของประชาชนในการช่วยแจ้งเหตุหากพบความผิดปกติกับระบบท่อและมาตรวัดน้ำ และเงินลงทุนเพื่อการบริหารจัดการน้ำสูญเสียที่สอดคล้องกับเป้าหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์

คำสำคัญ: น้ำสูญเสีย ท่อจ่ายน้ำ มาตรวัดน้ำ พื้นที่จ่ายน้ำย่อย แบบจำลองทางชลศาสตร์

Abstract

Statistical rate of water loss or non-revenue water in water distribution system of the Metropolitan Waterworks Authority (MWA) and Provincial Waterworks Authority (PWA) for the past 5 years (B.E. 2553–2557) found that the means were 24.94% and 27.46%, respectively. While the local authorities accounted for the water supply service to 58% of the country has no apparent water loss data. Then water loss is a major problem that is worth a total loss of several billion bahts per year. The strategies in reducing water loss to meet target needs a guideline management. The strategy of reducing water loss in this article compiled from an analysis of the causes of water loss divided into 1) reducing physical losses and 2) reducing commercial losses. In practical, there are major factors that contribute to the success of reducing water loss i.e. the collection and analysis of data measured from district metering area (DMA), the hydraulic model to analyze the phenomena occurring within the water distribution system, the cooperation of the perception of public when found something wrong with the pipe and the water meter, and budget to invest for water loss management accordance with the economic target.

 


Keywords


Water Loss, Water Distribution, Water Meter, District Metering Area, Hydraulic Model

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2016.04.005

ISSN: 2985-2145