Page Header

การปรับปรุงกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมเถ้าแกลบโดยใช้ด่างเร่งปฏิกิริยา

Reaksmey Soeurt, วิเชียร ชาลี

Abstract


งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมเถ้าแกลบ (RHA) ในปริมาณสูง โดยใช้ด่างในการเร่งปฏิกิริยา นำเถ้าแกลบที่ได้จากโรงงานโดยตรงมาบดให้ค้างตะแกรงขนาด 45 ไมโครเมตร (ตะแกรงเบอร์ 325) น้อยกว่าร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก และใช้เถ้าแกลบเป็นวัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 40, 50 และ 60 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน ผสมคอนกรีตจากเถ้าแกลบโดยใช้ด่างเร่งปฏิกิริยา ที่เป็นสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 โมลาร์หล่อตัวอย่างคอนกรีตขนาด 100 × 100 × 100 มม.3 เพื่อใช้ในการทดสอบกำลังอัด ที่อายุ 7, 14, 28 และ 60 วัน ผลการศึกษาพบว่า กำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมเถ้าแกลบมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้นเท่ากับ 0.5 โมลาร์โดยเฉพะในกลุ่มที่ใช้เถ้าแกลบในปริมาณสูง (ร้อยละ 60 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน) อย่างไรก็ตาม กำลังอัดของคอนกรีตมีแนวโน้มลดลงเมื่อใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้นสูงขึ้นเป็น 1.5 โมลาร์

คำสำคัญ: เถ้าแกลบ ด่างเร่งปฏิกิริยา กำลังอัด ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์

This research aimed to improve the compressive strength of high volume rice husk ash (RHA) concrete using alkaline activator. The original RHA was ground until the particles retained on a 45-μm sieve (sieve No. 325) were less than 30%. Original RHA was used as a pozzolanic material to replace Portland cement type I at 40, 50 and 60% by weight of the binder. NaOH concentrations of 0, 0.5, 1.0 and 1.5 molar were used as an alkaline activator in RHA concrete. Concrete cube specimens of 100 × 100 × 100 mm3 were casted for compressive strength test at the ages of 7, 14, 28 and 60 days. The results revealed that the compressive strength of RHA concrete tends to increase with the NaOH concentration of 0.5 molar, especially in concrete with high volume rice husk ash (60% by weight of binder). However, the compressive strength of concrete decreases when NaOH concentration up to 1.5 molar is used in the mixture.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2015.12.006

ISSN: 2985-2145