Page Header

การประยุกต์ใช้บ้านคุณภาพเพื่อปรับปรุงบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์

รัญชนา สินธวาลัย, เปมิกา บุญชู, ศิริพร ผลใหม่

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งบรรจุภัณฑ์ภายนอกและบรรจุภัณฑ์ภายในให้สามารถตอบสนองความต้องการของแพทย์และพยาบาลผู้ใช้งานและเกิดความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์โดยใช้บ้านคุณภาพ (House of Quality, HOQ) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment, QFD) การดำเนินงานเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของผู้ใช้จากนั้นจึงนำประเด็นความต้องการไปประเมินระดับความสำคัญและความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยบ้านคุณภาพจำนวน 2 หลังโดยแยกเป็นบ้านคุณภาพสำหรับบรรจุภัณฑ์ภายนอกและบรรจุภัณฑ์ภายในผลที่ได้จากบ้านคุณภาพคือข้อกำหนดทางเทคนิคที่สามารถนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่และสร้างต้นแบบของบรรจุภัณฑ์ขึ้น เพื่อนำไปประเมินความพึงพอใจอีกครั้งต่อบรรจุภัณฑ์ที่ปรับปรุง ผลจากการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ภายนอกเพิ่มขึ้นจาก 3.04 เป็น 4.38 จากคะแนนเต็ม 5 และค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ภายในเพิ่มขึ้นจาก 3.01 เป็น 4.01 จากคะแนนเต็ม 5 เช่นกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้จึงเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ของอุปกรณ์ทางการแพทย์นี้ให้สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้ยิ่งขึ้น

This research is intended to redesign the package of medical equipment in order to improve external and internal packages to meet users’ needs and increase their satisfaction. House of Quality (HOQ) which is based on Quality Function Deployment (QFD) technique was utilized. The research process began with surveying the needs of users for determining levels of importance and satisfaction in an existing package. The data were brought into HOQs, which were 2 matrixes; one for an external package and another for an internal package. The outputs from HOQs were analyzed for designing the new package. The survey for the satisfaction levels for a new package was then performed. The comparison between an existing package and the new one revealed that the overall mean of satisfaction for the external package was improved from 3.04 to 4.38 out of a 5- point scale. Similarly, the overall mean of satisfaction regarding the internal package was improved from 3.01 to 4.01. Expectantly, the research outcomes would contribute to package design improvement as to further accommodate and support user requirements.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2015.11.001

ISSN: 2985-2145