Page Header

การจัดลำดับความสำคัญข้อบกพร่องด้วยกระบวนการการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่: กรณีศึกษากระบวนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ขวัญใจ อินหันต์, ตรีทศ เหล่าศิริหงษ์ทอง

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินค่าน้ำหนักความสำคัญเชิงเปรียบเทียบของเกณฑ์ 3 ด้านที่ใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis: FMEA) ได้แก่ ความรุนแรงของข้อบกพร่อง (Severity: S) โอกาสในการเกิด (Occurrence: O) และ การตรวจจับ (Detection: D) และ 2) จัดลำดับความสำคัญของข้อบกพร่อง จาก FMEA ถ่วงน้ำหนักความสำคัญโดยเปรียบเทียบ โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ (Fuzzy Analytic Hierarchy Process: Fuzzy AHP) ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์พบว่าเกณฑ์สำคัญที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกข้อบกพร่องได้แก่ความรุนแรงของข้อบกพร่องและเมื่อวิเคราะห์ถึงลำดับความสำคัญของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทที่ใช้เป็นกรณีศึกษา พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความเสียหายภายหลังการบรรจุภัณฑ์จะมีความสำคัญที่สุดผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของลำดับความสำคัญข้อบกพร่องที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับผลจากการวิเคราะห์ FMEA แบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ในมิติที่สำคัญและเร่งด่วนได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น

 The objectives of this study are to: 1) evaluate the releative importance of three criteria (Severity, Occurrence, and Detection) used in the Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) and to 2) prioritize the failure modes from FMEA by applying Fuzzy Analytic Hierarchy Process (FAHP). According to the experts in electronics manufacturing industry, Severity (S) is the most important criterion for FMEA while the damaged products after packaging is the most prioritized. The study also shows the degrees of prioritization which leads a company to take immediate preventive actions.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2016.02.003

ISSN: 2985-2145