Page Header

ผลกระทบของสารลดแรงตึงผิวต่อกำลังอัดและความหนาแน่นของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา
Reducing Unplanned Downtime Losses in the Shaft Assembly Process with Overall Effectiveness Measurement

Pattachai Nirot, Porphan Sutthiwattana, Jakrapan Wongpa

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสารลดแรงตึงผิวต่อกำลังและความหนาแน่นของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยเลือกออกแบบส่วนผสมคอนกรีตควบคุมกำลังอัด 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และค่าการยุบตัวระหว่าง 7.5 – 12.5 เซนติเมตร ตัวอย่างทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยชุดแรก น้ำในส่วนผสมคอนกรีตควบคุมบางส่วนถูกแทนที่ด้วยน้ำยางพาราในอัตราส่วนร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 โดยน้ำหนักของน้ำ ส่วนชุดที่สอง นำส่วนผสมของชุดแรกมาแทนที่น้ำยางพาราบางส่วนด้วยสารลดแรงตึงผิวอัตราส่วนร้อยละ 5 โดยน้ำหนักของน้ำยางพารา หาค่าการยุบตัวขณะสดของคอนกรีตทุกส่วนผสม และทดสอบกำลังอัดที่อายุ 7, 14 และ 28 วัน ตามลำดับ ความหนาแน่นของคอนกรีตแต่ละตัวอย่างคำนวณจากน้ำหนักและปริมาตรรายก้อน จากการทดสอบพบว่า การเติมสารลดแรงตึงผิวช่วยให้คอนกรีตสดมีค่ายุบตัวสูงขึ้น และพบว่าการเติมสารลดแรงตึงผิวส่งผลให้คอนกรีตผสมน้ำยางพารามีกำลังอัดลดลงอย่างมากโดยเฉพาะในส่วนผสมที่มีน้ำยางข้นร้อยละ 1.5 และ 2.0 ซึ่งมีกำลังอัดลดลงสูงถึงร้อยละ 32 และ 57 ตามลำดับ เทียบกับคอนกรีตปกติ และพบว่าความหนาแน่นของคอนกรีตผสมน้ำยางพาราทั้งที่มีและไม่มีสารลดแรงตึงผิวแปรผันโดยตรงกับกำลังอัดอย่างมีนัยสำคัญ

This objective of this research is to study the effects of surfactant on compressive strength and density of para rubber latex concrete. Control concrete having compressive strength of 240 ksc and slump between 7.5 and 12.5 cm was chosen for the mix proportion design methods. Testing specimens was separated into 2 groups. The first group, a partial amount of water in control mixture was replaced by para rubber latex at rates of 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 percent by weight of water. The second group, 5 percent by weight of para rubber latex was replaced by surfactant for every mixture of the first group. For every mixture, slump of fresh concretes was observed. Compressive strength of each mixture was investigated at the ages of 7, 14, and 28 days, respectively. Density of each specimen was calculated using its weight and volume, one-by-one. It was found that surfactant could increase slump of fresh concrete. In addition, the surfactant resulted in a dramatic decline in the compressive strength of para rubber latex concrete, especially for the mixtures containing 1.5 and 2.0 percent of para rubber latex. Those mixtures showed decreases of 32 and 52 percent in comparison with the control concrete. Irrespective of surfactant, the density of para rubber latex concrete exhibits significant relationship with compressive strength of the specimens.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.09.002

ISSN: 2465-4698