กลยุทธ์การปรับตัวของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
Adaption Strategy for Automotive Part Manufacturing Industry to Support Thailand 4.0
Abstract
การปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ดำเนินการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำรวจข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากผู้ประกอบการ และผู้บริหาร จำนวน 500 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การปรับตัวของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านการพัฒนาการบริการภิวัฒน์ ( = 4.10) ได้แก่ จัดโปรแกรมให้ลูกค้าเข้าศึกษาดูเทคโนโลยีและวัสดุการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ ด้านการพัฒนาองค์กร ( = 4.26) ได้แก่ สถานที่ทำงานเอื้อประโยชน์ต่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ( = 4.16) ได้แก่ จัดการลดความสูญเสียในขบวนการผลิตปัจจุบันด้วยระบบลีนก่อนนำระบบอัตโนมัติมาใช้ และด้านการพัฒนาทักษะแรงงาน ( = 4.27) ได้แก่ พัฒนาแรงงานให้สามารถควบคุมอารมณ์ภายใต้แรงกดดัน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลยุทธ์การปรับตัวของอุตสาหกรรมการผลตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เมื่อจำแนกตามขนาดองค์กรธุรกิจแล้วไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ตัวแบบจําลองสมการโครงสร้างที่ได้พัฒนาขึ้น พบว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าระดับความน่าจะเป็นของไคสแควร์เท่ากับ 0.261 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.048 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง เท่ากับ 0.953 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกําลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 0.010
Adaption itself in line with Thailand 4.0 policy creates competitiveness to automotive parts manufacturing industry. The objective of this research is to investigate the adaption strategy for automotive part manufacturing industry to support Thailand 4.0. Quantitative and qualitative research method were implemented. The quantitative survey data was gathered from a questionnaire replied by 500 qualified entrepreneurs and executives. The results show that the Adaption Strategy for Automotive Part Manufacturing Industry to Support Thailand 4.0 encompasses these elements: Development of Servitization (X = 4.10) that is providing customers with educational programs regarding technology and new generation of automotive materials, Development of Organization (X = 4.26) that is facilitating workplace to enable efficient manufacturing, Development of Technology and Innovation (X = 4.16) that is reducing wastes in current manufacturing processes with lean systems prior to the application of automation and Development of Labour Skill (X = 4.27) that is training labours to deal with emotion control while working under pressure. The hypothesis testing shows that Adaption Strategy for Automotive Part Manufacturing Industry to Support Thailand 4.0 classified by sizes of manufacturers have no significant difference at a significant level of 0.05. The results of the SEM analysis also shows that the assessment criteria were consistent with the empirical data. It was found that the chi-square probability level was 0.261, the relative chi-square value was 1.048, the goodness of fit index was 0.953, and the root mean square error of approximation was 0.010.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.06.003
ISSN: 2465-4698