การลดความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดเดินเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเพลาด้วยการวัดประสิทธิผลโดยรวม
Reducing Unplanned Downtime Losses in the Shaft Assembly Process with Overall Effectiveness Measurement
Abstract
การลดความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดเดินเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้ามีความสำคัญต่อเวลาเดินเครื่องจักรและการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวม ทำให้ลดต้นทุนความสูญเสีย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการลดความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดเดินเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเพลา โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 140 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูล 27 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าและไม่เพิ่มคุณค่า แผนผังสายธาร โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อหาปัจจัยเชิงสาเหตุ ร่วมกับการวัดประสิทธิผลโดยรวม ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมกลึงชิ้นส่วนเพลาทำให้เกิดความสูญเสียจากการหยุดเดินเครื่องจักร โดยการวางแผนเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น จึงได้เสนอแนวทางการลดความสูญเสียด้วยการวัดประสิทธิผลโดยรวม ทำให้เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักรลดลงจาก 110.58 เป็น 52.24 นาทีต่อวัน ส่งผลให้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.21 เป็นร้อยละ 86.24 ขณะที่ต้นทุนความสูญเสียลดลงจาก 5.26 เป็น 1.70 บาทต่อชิ้น ผู้วิจัยจึงเสนอให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการลดความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดเดินเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป
Reducing the losses resulting from unplanned equipment downtime is critical to uptime and increasing overall productivity as it can lower the loss cost. The objective of this research was to propose a solution to reduce the losses arising from unplanned downtime in the shaft assembly. This mixed-methods research design was performed. Quantitative data collection was carried out with a sample of 140 respondents who took a survey, while the qualitative data were collected using participatory observations, in-depth interviews, and a focus group of 27 key informants. The data were analyzed by value-added and nonvalue-added activities, value stream mapping, structural equation model of causal factors, along with Overall Equipment Effectiveness (OEE) measurement. The research found that shaft machining activities caused downtime losses where planning was the causal factor. Therefore, a method for reducing losses was proposed through the OEE measurement. The machine downtime was found to decrease from 110.58 to 52.24 minutes per day, resulting in an increase in the machinery OEE from 61.21 to 86.24 percent. Likewise, the amount of loss cost decreased from 5.26 to 1.70 baht per piece. It is recommended that the entrepreneurs place emphasis on minimizing the losses arising from unplanned downtime, which would further improve manufacturing process efficiency and its operations.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.09.001
ISSN: 2465-4698