Design and Development of Reverse Vending Machines Using Quality Functional Deployment Technique and Patent Searching Technique
Abstract
ความท้าทายในการออกแบบเทคโนโลยีเครื่องรับซื้อบรรจุภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดคือหัวใจสำคัญของการพัฒนาธุรกิจนี้ให้เกิดความยั่งยืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องรับซื้อบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล (Reverse Vending Machine, RVM) ให้มีคุณลักษณะที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งานด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (Quality function Deployment, QFD) และการสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตร (Patent Searching Technique) โดยกระบวนการออกแบบและพัฒนา เริ่มต้นจากการแปลงเสียงเรียกร้องของผู้ใช้งาน (Voice of Customer, VOC) เป็นความต้องการออกแบบ (Design Characteristics) และเชื่อมโยงสู่การกำหนดคุณลักษณะของชิ้นส่วน (Part Characteristics) ด้วยเทคนิคบ้านคุณภาพ (House of Quality, HOQ) หลังจากนั้นจึงนำความต้องการในการปรับปรุงชิ้นส่วนมาจัดเรียงลำดับ และเลือกชิ้นส่วนที่มีผลกระทบต่อความต้องการของลูกค้ามาก ไปสืบค้นแนวทางในการออกแบบด้วยการสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตรและพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Product Prototyping) ก่อนนำไปทำการทดสอบการใช้งานกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,000 คน ซึ่งผลลัพธ์ในการทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์พบว่า มีระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานระดับมาก ค่าความพึงพอใจเฉลี่ย (Mean) อยู่ระหว่าง 4.14-4.48 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อยู่ระหว่าง 0.68-0.96 ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาเครื่องรับซื้อบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลสำหรับภาคธุรกิจได้อย่างยั่งยืนต่อไป
Challenges of designing Reverse Vending Machine technology to meet the user requirements at most were the heart of sustainable business development. This research aimed to design and develop the Reverse Vending Machine Reverse Vending Machine (RVM) to have features that meet the user requirements with the Quality Function Deployment (QFD) technique and Patent Searching Technique. The processes of design and development began from converting the Voice of Customer (VOC) into Design Characteristics and linking to the specification of Part Characteristics with House of Quality (HOQ) technique. After that, the requirements of Part Improvement therefore is sorted and selected the Parts with a great impact on the customer's requirements to search for the design guidelines by searching in the patent database and Product Prototyping before testing usability with 1,000 samples. The usability test result was found that it had the satisfaction on usability at a high level of with the use, average satisfaction (Mean) was between 4.14–4.48 points, Standard Deviation (SD) score was between 0.68–0.96 points. The results of this research were able to further apply as sustainable Reverse Vending Machine development prototyping for business sector.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2021.07.004
ISSN: 2465-4698