Page Header

การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย

ชายชาญ แพเจริญ, สุภัททา ปิณฑะแพทย์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, เอนก ธีระวิวัฒน์ชัย

Abstract


การวิจัยเรื่องการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์ปัจจัยในการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย 2) กำหนดปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย และ 3) จัดทำคู่มือการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สำหรับท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย ประชากรผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ปฏิบัติงานการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย ใช้วิธีการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การวิเคราะห์องค์ประกอบ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยในการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการจัดระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ 2) ปัจจัยด้านนโยบายการดำเนินการพื้นที่เชิงพาณิชย์ 3) ปัจจัยด้านการจัดระบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ 4) ปัจจัยด้านการควบคุมพื้นที่เชิงพาณิชย์ 5) ปัจจัยด้านการตรวจสอบกิจกรรมของร้านค้า และ 6) ปัจจัยด้านการบริหารรายได้ และจากการสนทนากล่มุ พบว่าปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทยได้ ผลการจัดทำคู่มือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สำหรับท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คำแนะนำคู่มือการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สำหรับท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย และส่วนที่ 2 แนวทางการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทย ได้แก่โครงสร้างการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์และรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งและภาระงาน ผู้ทรงคุณวุฒิลงมติเห็นชอบเอกฉันท์ว่าเป็นคู่มือที่ใช้เป็นแนวทางการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานนานาชาติในประเทศไทยได้

The objectives of this research were: 1) to analyze the essential factors in management of the commercial areas of the international airports in Thailand, 2) to identify factors to increase efficiency of management of the commercial areas of the international airports in Thailand and 3) to develop a manual of management of the commercial areas of the international airports in Thailand. Participants in the research were the specialists, experts and experienced management personnel associated with management of the commercial areas of the international airports in Thailand. The research methodologies were del-phi technique and focus group. The qualitative data was analyzed by content analysis. The quantitative were analyzed by median, inter quartile range, factor analysis, mean and standard deviation. Factors of management of the commercial areas of the international airports in Thailand were verified by unanimity of the focus group committee of experts in management of the commercial areas of the international airports in Thailand. The result showed that there were six essential factors: 1) The information and communication technology management factor, 2) The commercial area operation policy factor, 3) The organized commercial area system factor, 4) The controlling of commercial area factor, 5) The auditing of the retail shop activity factor and 6) The revenue management factor. The six factors were verified by the expertise in the focus group for the appropriateness in increase efficiency of management of the commercial areas of the international airports in Thailand. The manual for enhancing the efficiency management of the commercial areas of the international airports in Thailand composed of two main parts: the first part was introduction to users and the second part were management guideline which composed of commercial areas management organization chart and job descriptions and job roles. The manual was approved for its applicable as a guideline for management of the commercial areas of the International airports in Thailand in unanimity


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2015.12.005

ISSN: 2985-2145