Page Header

แนวปฏิบัติปัจจุบันและปัญหาของงานสำรวจดินทางธรณีเทคนิคในประเทศไทย
Current Practice and Problem of Geotechnical Site Investigation in Thailand

Pawaris Ruennusarn, Siranya Thongchart

Abstract


ปัจจุบันงานสำรวจดินในประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานเพื่อบังคับใช้หรือเป็นไปตามข้อกำหนดของการปฏิบัติงานในภาพรวมของประเทศ สืบเนื่องจากการรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบริษัทเจาะสำรวจและผู้ออกแบบ พบว่า ยังคงมีปัญหาที่ควรได้รับการดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสม โดยแบ่งเป็น ปัญหาด้านกระบวนการทำงาน (P) ร้อยละ 55.6 ปัญหาที่เกิดจากเครื่องมือ/อุปกรณ์ (E) ร้อยละ 25.9 และปัญหาจากบุคคล (H) ร้อยละ 18.5 ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาต่างๆดังกล่าวส่งผลกระทบหลักต่อคุณภาพของข้อมูล และผู้ออกแบบเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลักจากผลกระทบดังกล่าว (ร้อยละ 51.9) นอกจากนี้ยังพบว่าการไม่มีวิศวกรควบคุมหน้างานเป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของปัญหาต่างๆดังกล่าว ดังนั้นบทความนี้จึงได้เสนอมาตรการในการยกระดับคุณภาพของงานสำรวจดินในประเทศไทยจำนวน 3 ข้อ ข้อแรกมาตรการด้านการให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ข้อที่สองมาตรการด้านการยกระดับการปฏิบัติงานโดยการร่างข้อกำหนดในการสำรวจดินในประเทศไทย เพื่อควบคุมความถูกต้องในการทำงานและเป็นข้อกำหนดเดียวกันที่ทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กรยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติ โดยจะเสนอให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เป็นหน่วยงานกลางในการผลักดัน และมาตรการสุดท้ายคือ ส่งเสริมให้เกิดการตรากฏหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานสำรวจดินในประเทศไทย

Nowadays, the site investigation in Thailand still has not been up to standard for enforcing or following the overall work specification of the country. According to the data collected by the in-depth interviews from the companies and designers, there were still some problems which should be solved properly. They are divided into problems in the work process (P) by 55.6%, problems related to the tools or equipment (E) by 25.9%, and problems caused by human (H) by 18.5%. Moreover, these problems mainly affected the quality of the data. And, the designers were the main stakeholder of these problems (51.9%). It was also found that lacking a site engineer was a key problem affecting the overview of the stated problems. Therefore, this paper presents three measures for improving the quality of site investigation in Thailand. Firstly, it is a measure of educating the site investigation workers. Secondly, it is a measure of improving the operational standard by writing the specification of the site investigation in Thailand for controlling accuracy in work and being the same regulation for all departments or all organizations. This is going to be proposed to the Engineering Institute of Thailand (EIT) for enforcement. Finally, it is a measure in encouraging an enactment related to the standard of operation of the site investigation in Thailand.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2021.08.006

ISSN: 2985-2145