Page Header

การลดน้ำหนักบรรจุเกินของผลิตภัณฑ์ปูอัดแบบแท่งแช่แข็ง กรณีศึกษาบริษัท ลัคกี้ ยูเนียน ฟู้ดส์ จำกัด
Over Packing Weight Reduction of Frozen Imitation Crab Stick: Case Study of Lucky Union Foods Company Limited

Sunee Eadmusik, Thanthida Onwimon, Teerapong Khiawlek, Wongsak Rodsakan, Thaweerat Saetan

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดน้ำหนักบรรจุเกิน (Over Packing Weight) ในกระบวนการผลิตปูอัดแบบแท่งแช่แข็งโดยอาศัยเทคนิค DMAIC จากการวิจัย พบว่า ผลิตภัณฑ์ปูอัดแบบแท่งแช่แข็ง ขนาดบรรจุ 500 กรัม/แพ็ค มีปริมาณการผลิตสูงที่สุด คิดเป็น 30.07% ของปริมาณการผลิตปูอัดแบบแท่งแช่แข็งทั้งหมด และผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มีน้ำหนักบรรจุเกิน เท่ากับ 1.86% สูงกว่าค่าเป้าหมายที่บริษัทกำหนด (1.50%) ผลการวิเคราะห์โดยการใช้แผนภูมิสาเหตุและผลและการออกแบบการทดลอง พบว่า ปัจจัยการผลิตด้านความเร็วสกรูเกลียว ความสูงของวาล์ว และปริมาณ Reprocess ส่งผลต่อน้ำหนักบรรจุเกินในผลิตภัณฑ์ปูอัดแบบแท่งแช่แข็ง ขนาดบรรจุ 500 กรัม/แพ็ค อย่างมีนัยสำคัญ ภายหลังจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต พบว่า น้ำหนักบรรจุเกินมีค่า 1.70% (ลดลง 8.6%) ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเกินพิกัดควบคุมด้านบนมีค่าลดลงจาก 56.54% เป็น 27.80% (ลดลง 50.83%) และค่า Cpk ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ 322,085 บาท/ปี

This research aimed to reduce an over packing weight related to the frozen imitation crab stick production process by applying DMAIC method. The results showed that, among the entire frozen imitation crab stick products, the 500 g package category yields the highest production, accounting for 30.7% of total production quantity. Meanwhile, its 1.86% excess weight was greater than the 1.50% target value set be company. The results obtained from a cause and effect diagram and a design of experiment revealed that factors significantly affecting overloading conditions of the 500 g package were screw speed, valve height and amount of reprocess. After the production process improvement, it was found that over packing weight reduced by 8.6% to 1.70%; amount of frozen imitation crab stick packing size of 500 g with upper specification limit decreased from 56.54% to 27.80% (50.83% reduction) and Cpk increased which could save a production cost for 322,085 Baht/year.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2021.11.008

ISSN: 2465-4698