Page Header

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสละและการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่
Antioxidant Activity of Salak and Soap Product Development

Sunisa Suwancharoen, Teerapich Kasemsuk, Nuntaporn Moonrungsee, Udom Kurewan, Suttsinee Mekprayoon, Jarassri Oebsapap, Apaporn Boonmee

Abstract


พืชสกุลสละ เป็นหนึ่งในพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งกระบวนการแปรรูปพืชสกุลนี้ทำให้เกิดเปลือกและเมล็ดสละเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากเปลือกและเมล็ดของสละด้วยการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเปลือกและเมล็ดของพืชสกุลสละและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยได้คัดกรองฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของพืชสกุลสละ 5 ชนิด คือ ระกำ สละกำ สละหม้อ สละเนินวง และสละสุมาลี ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดเอทานอลของเปลือกพืชสกุลสละมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าเมล็ดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) และเปลือกสละสุมาลีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด โดยพบว่าเปลือกสละสุมาลีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงใกล้เคียงวิตามินซี (IC50 1.03+-0.04 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และสูงกว่าเมล็ดและเนื้อสละ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 7.93+-0.04 99.22+-0.51 และ 353.98+-1.70 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลของเปลือกสละสุมาลียังแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสสูงกว่าเมล็ดและเนื้อสละ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 419.80+-3.22 1821.62+-6.69 และมากกว่า 1000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ แต่ต่ำกว่าสารมาตรฐานโคจิก (IC50 1.18+-0.24 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) เมื่อนำสารสกัดเอทานอลของเปลือกสละสุมาลีมาผสมในสบู่กลีเซอรีนแบบก้อนใสและก้อนขุ่นพบว่าสบู่ทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแต่น้อยกว่าสารสกัดเอทานอลก่อนการผสม โดยมีค่า IC50 เมื่อใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลายสบู่เท่ากับ 351.13+-24.74 และ 347.56+-18.71 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ

Salacca is one of the important economic plant of Thailand of which the fruit processing causes an abundance of peels and seeds as agricultural waste. Therefore, to increase the value of salak peels and seeds, antioxidant activity screening and antioxidant soap product developed from these agricultural wastes were studied in this research. Five cultivars of Salacca genus; Rakam, Salakam, Salamoa, Noenwong, and Sumalee, were determined for an antioxidant activity using DPPH assay. The result revealed that ethanolic extracts by maceration of salak peels showed significantly higher than those from salak seeds (p≤0.05). Sumalee peels’ ethanolic extracts exhibited the highest antioxidant activity which was close to the activity of vitamin C (IC50 1.03 ± 0.04 μg/mL) and higher than those of the seed and plump extracts with the IC50 of 7.93 ± 0.04, 99.22 ± 0.51, and 353.98 ± 1.70 μg/mL, respectively. Moreover, tyrosinase inhibitory activity of Sumalee peel extracts also presented higher activity than the seed and plump extracts with the IC50 of 419.80 ± 3.22, 1821.62 ± 6.69, and >1000 μg/mL, respectively but lower than Kojic acid standard (IC50 1.18 ± 0.24 μg /mL). After Sumalee peels’ ethanolic extracts were mixed in the clear and opaque glycerin soap, the antioxidant of both soap types was detected but less than the ethanol extract before mixing with the IC50 at 351.13 ± 24.74 and 347.56 ± 18.71 μg/mL, respectively.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2021.03.010

ISSN: 2465-4698