ความก้าวหน้าของกระบวนการปรับสภาพชีวมวลลิกโนเซลลูโลสด้วยกระบวนการทางเคมีเพื่อกระบวนการกลั่นทางชีวภาพ
Progress in Chemical Pretreatment of Lignocellulose Biomass for Applications in Biorefinery
Abstract
ชีวมวลลิกโนเซลลูโลสเป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อการผลิตพลังงานหมุนเวียนและกระบวนการกลั่นทางชีวภาพที่สำคัญ ซึ่งกระบวนการกลั่นทางชีวภาพที่เปลี่ยนวัตถุดิบลิกโนเซลลูโลสเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง เช่นเชื้อเพลิงชีวภาพ ชีวเคมีและไบโอโพลีเมอร์ กระบวนการผลิตนั้นประกอบด้วยขั้นตอนหลักคือการปรับสภาพชีวมวล ไฮโดรไลซิส การหมัก และการสกัดแยกส่วนผลผลิต ซึ่งในขั้นตอนการปรับสภาพชีวมวลนั้นมีความสำคัญต่อกระบวนการโดยรวม เนื่องจากชีวมวลลิกโนเซลลูโลสมีลักษณะทางเคมีและกายภาพที่แข็งแรงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ในกระบวนการไฮโดรไลซิสลดลง ในปัจจุบันการปรับสภาพชีวมวลมีหลายวิธี เช่น การปรับสภาพทางเคมี ทางกายภาพ ทางกายภาพ-เคมี และการปรับสภาพด้วยวิธีผสม ซึ่งการเลือกใช้วิธีการปรับสภาพก็จะขึ้นอยู่กับชนิดลิกโนเซลลูโลสว่าเหมาะสมกับวิธีใด และเนื่องจากปริมาณของลิกโนเซลลูโลสที่เป็นของเสียเหลือทิ้งมีปริมาณมากจึงเกิดแนวคิดที่จะลดของเสียเหล่านี้โดยนำมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลผลิตในอุตสาหกรรมปลายน้ำที่หลากหลาย นำมาสู่รูปแบบที่เรียกว่าเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติ (UN) จึงมีการเลือกใช้สารเคมีที่นำมาปรับสภาพเป็นสารเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green solvent) เช่น สารไอออนิกลิควิด (Ionic liquid) และสารละลายดีพยูเทคติก (DES) โดยในบทความนี้มุ่งเน้นให้เห็นถึงตัวเลือกของวิธีการปรับสภาพชีวมวลด้วยวิธีทางเคมีที่มีในปัจจุบันและได้รับการพัฒนาวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย และแนะนำจุดที่ควรพัฒนาของกระบวนการ เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้ในการวิจัยต่อยอดและเป็นข้อมูลในการประยุกต์ใช้การปรับสภาพในกระบวนการกลั่นทางชีวภาพต่อไปในอนาคต
Lignocellulose biomass is raw material for production of renewable energy and biorefining process. Biorefining process converts lignocellulose biomass to various value-added products, such as biofuels, biochemical, and biopolymers. This process is composed of multi-step reactions including pretreatment, hydrolysis, fermentation and product recovery. Among these 4 steps, pretreatment is important to the feasibility of the overall process, because lignocellulose has strong chemical and physical characteristics, which cellulase inefficiently accesses and hydrolyzes biomass. Currently, there are many pretreatment methods, such as chemical pretreatment, physical pretreatment, physical-chemical pretreatment, and combined pretreatment method. The selection of the appropriate method depends on the type of lignocellulose. Due to the abundant amount of lignocellulose in nature, it is necessary to develop the biorefining process to convert the waste to value-added products. This concept agrees well with the Bio economy, Circular economy, and Green economy (BCG Economy) to achieve the sustainable development goals (SDG) of United Nations (UN). Therefore, green chemicals for pretreatment are selected with environmentally friendly property, such as ionic liquid and Deep Eutectic Solutions (DES). This review describes the options of chemical pretreatment methods that are developed by researchers. The pros and cons of each pretreatment method are discussed and the room for improvement is suggested. The knowledge obtained from this review will benefit to provide information for further development and research in biorefining process in the future.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.09.018
ISSN: 2985-2145